โลกนีติปาฬิแปลฉบับเต็ม ๑๖๗ คาถา ไฟล์ PDF สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.palipage.com |
โลกนีติปาฬิ - แปล
๑. ปัณฑิตกัณฑ์ - หมวดบัณฑิต
#คัมภีร์โลกนีติ-ปณามคาถา#
๑.
โลกนีตึ ปวกฺขามิ, นานาสตฺถสมุทฺธฏํ;
มาคเธเนว สงฺเขปํ, วนฺทิตฺวา รตนตฺตยํ ฯ
“ข้าพเจ้า กราบไหว้พระรัตนตรัยแล้ว จักกล่าวโลกนีติ(ปกรณ์)
ซึ่งได้รวมเอาความรู้นานาไว้ ด้วยภาษาบาฬี โดยสังเขป.“
(#โลกนีติ, หมวดบัณฑิต, คาถาที่ ๑)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#โลกนีตึ (ระเบียบ, ประเพณีของชาวโลก, ปกรณ์ชื่อว่าโลกนีติ) โลก+นีติ > โลกนีติ+อํ
#ปวกฺขามิ (จักกล่าว) ป+√วจ+สฺสามิ ภูวาทิ. กัตตุ. ภวิสสันตีวิภัตติ.
แปลง สฺส เป็น ข ด้วย สปฺปจฺจย ศัพท์ในสูตรว่า กรสฺส สปฺปจฺจยสฺส กาโห. (รู (๕๒๔),
แปลงที่สุดธาตุเป็น กฺ ด้วยสูตรว่า โก เข จ. (รู ๕๒๙)
แปลง สฺส เป็น ข ด้วย สปฺปจฺจย ศัพท์ในสูตรว่า กรสฺส สปฺปจฺจยสฺส กาโห. (รู (๕๒๔),
แปลงที่สุดธาตุเป็น กฺ ด้วยสูตรว่า โก เข จ. (รู ๕๒๙)
#นานาสตฺถสมุทฺธฏํ (ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยคัมภีร์ต่าง, ซึ่งได้รวมเอารู้นานาเอาไว้)
นานา+สตฺถ+สมุทฺธฏ > นานาสตฺถสมุทฺธฏ+อํ
นานา+สตฺถ+สมุทฺธฏ > นานาสตฺถสมุทฺธฏ+อํ
#มาคเธเนว (ด้วยภาษามคธนั้นเทียว) มาคเธน+เอว
#สงฺเขปํ (โดยย่อ, โดยสังเขป) สงฺเขป+อํ
#วนฺทิตฺวา (ไหว้แล้ว, ครั้นไหว้แล้ว) √วนฺท+อิ+ตฺวา > วนฺทิตฺวา+สิ
#รตนตฺตยํ (หมวดสามแห่งรัตนะ, พระรัตนตรัย) รตน+ตย > รตนตฺตย+อํ
……………….
คัมภีร์โลกนีติ มีทั้งหมด ๑๖๗ คาถา แบ่งออกเป็นหมวด มี ๗ หมวด คือ
๑. หมวดบัณฑิต (ปณฺฑิตกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับบัณฑิต มี ๔๐ คาถา
๒. หมวดคนดี (สุชนกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับคนดี มี ๒๘ คาถา
๓. หมวดคนพาล (พาลทุชฺชนกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับคนพาล มี ๑๑ คาถา
๔. หมวดมิตร (มิตฺตกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับมิตร มี ๑๕ คาถา
๕. หมวดสตรี (อิตฺถิกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับผู้หญิง มี ๑๘ คาถา
๖. หมวดพระราชา (ราชกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเกี่ยวกับพระราชา มี ๒๖ คาถา
๗. หมวดเบ็ดเตล็ด (ปกิณฺณกกณฺฑ) ว่าด้วยคติคำสอนเบ็ดเตล็ดทั่วไป มี ๓๐ คาถา
คัมภีร์โลกนีตินี้ ผมเคยแปลไปครั้งหนึ่งแล้ว สมัยโพสในเฟซบุ๊คช่วงแรก
โดยอาศัยแนวทางของท่านพระอาจารย์สมปอง มุทิโต
(ประธานชมรมนิรุตติศาสตร์ คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุ ฯ ท่าพระจันทร์ กทม.
เว็บไซต์ : www.baliyai.org) ซึ่งท่านนำร่องไว้ให้ประมาณ ๖๓ คาถา
ต่อจากนั้นไป ก็แปลข้ามไปเรื่อย จนกระทั้งจบแบบไม่ค่อยสวยนัก
คือแปลไม่ออกเป็นส่วนใหญ่ มาคราวนี้ตั้งใจว่าจะลองแปลอีกครั้งเป็นการทบทวนของเก่า
และที่น่าอุ่นใจเพราะมีหนังสือโลกนีติไตรพากย์ ของเสฐียรโกเศส-นาคประทีป เป็นคู่มือ
คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางได้เป็นอย่างดี ในหนังสือนั้นท่านเรียบเรียงโดยใช้บาฬีเป็นตัวตั้ง
ตามด้วยคำโคลง คำแปลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ท่านสามารถหาอ่านหรือดาวน์โหลดได้
ที่ http://sathirakoses-nagapradipa.org/index.php?option=com_content&view=
category&layout=blog&id=1&Itemid=2&limitstart=120) .
โดยอาศัยแนวทางของท่านพระอาจารย์สมปอง มุทิโต
(ประธานชมรมนิรุตติศาสตร์ คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุ ฯ ท่าพระจันทร์ กทม.
เว็บไซต์ : www.baliyai.org) ซึ่งท่านนำร่องไว้ให้ประมาณ ๖๓ คาถา
ต่อจากนั้นไป ก็แปลข้ามไปเรื่อย จนกระทั้งจบแบบไม่ค่อยสวยนัก
คือแปลไม่ออกเป็นส่วนใหญ่ มาคราวนี้ตั้งใจว่าจะลองแปลอีกครั้งเป็นการทบทวนของเก่า
และที่น่าอุ่นใจเพราะมีหนังสือโลกนีติไตรพากย์ ของเสฐียรโกเศส-นาคประทีป เป็นคู่มือ
คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางได้เป็นอย่างดี ในหนังสือนั้นท่านเรียบเรียงโดยใช้บาฬีเป็นตัวตั้ง
ตามด้วยคำโคลง คำแปลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ท่านสามารถหาอ่านหรือดาวน์โหลดได้
ที่ http://sathirakoses-nagapradipa.org/index.php?option=com_content&view=
category&layout=blog&id=1&Itemid=2&limitstart=120) .
แต่สำหรับการแปลในครั้งนี้ ผมจะนำด้วยภาษาฬี แปลเป็นภาษาไทยตามที่ตนถนัด
และอธิบายศัพท์ ตามสมควร ดังที่ได้ปฏิบัติเรื่อยมาก่อนหน้านี้.
และจะไม่นำคำโคลงมาประกอบไว้ด้วย เพราะคิดว่าท่านทั้งหลายคงพอหาศึกษาได้ด้วยตนเอง
อนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ท่านทั้งหลายช่วยหาคำโคลงมาประกอบเอาเอง ท่านจะนำของเก่า
หรืออาจจะแต่งใหม่มาประกอบก็ได้ ไม่ผิดกกติกาแต่ประการใด.
และอธิบายศัพท์ ตามสมควร ดังที่ได้ปฏิบัติเรื่อยมาก่อนหน้านี้.
และจะไม่นำคำโคลงมาประกอบไว้ด้วย เพราะคิดว่าท่านทั้งหลายคงพอหาศึกษาได้ด้วยตนเอง
อนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ท่านทั้งหลายช่วยหาคำโคลงมาประกอบเอาเอง ท่านจะนำของเก่า
หรืออาจจะแต่งใหม่มาประกอบก็ได้ ไม่ผิดกกติกาแต่ประการใด.
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen