#ห้าสิ่งที่ควรทำช้าๆ #
๙.
สิเน สิปฺปํ สิเน ธนํ, สิเน ปพฺพตมารุหํ,
สิเน กามสฺส โกธสฺส, อิเม ปญฺจ สิเน สิเน ฯ
„สิ่งที่ควรทำช้า ๆ ๕ ประการ คือ
๑. การเรียนศิลปะ (ต้องเพียรพยายาม)
๒. การแสวงหาทรัพย์ (ต้องขยันมั่นเพียร)
๓. การขึ้นภูเขา (ต้องดูกำลังวังชา)
๔. การเสพกามคุณทั้งห้า (ต้องมีสติอย่างมาก)
๕. การโกรธ (ต้องหาวิธีระงับโดยเร็ว).“
(#โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๙, #ธัมมนีติ ๒๑๘)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#สิเน (ช้า ๆ, ค่อย ๆ) ยังไม่ทราบว่า สำเร็จมาจากธาตุปัจจัยอะไรกันแน่ แปลตามกันมาว่า „ช้า ๆ“ ขอฝากไว้ก่อนครับ
อนึงในโลกนีติไตรพากย์ เป็น สินฺเน ทุกบทไป.
อนึงในโลกนีติไตรพากย์ เป็น สินฺเน ทุกบทไป.
#สิปฺปํ (ศิลป, ฝีมือ) นป. สิปฺป+อํ ควรใส่กิริยาที่สัมพันธ์กัน เช่น อุคฺคณฺเห (เรียน, ถือเอา) เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์,
หรือจะแปลเป็นกรรมวาจก ใช้เป็น อุคฺคเหตพฺพํ ก็ได้.
หรือจะแปลเป็นกรรมวาจก ใช้เป็น อุคฺคเหตพฺพํ ก็ได้.
#ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ) นป. ควรเติมกิริยาว่า ปริเยเส, คเวเส (แสวงหา) เพื่อให้ได้ความหมาย
#ปพฺพตมารุหํ = ปพฺพตํ+อารุหํ (การขึ้นสู่ภูเขา) ปพฺพต+อํ = ปพฺพตํ (ซึ่งภูเขา, สู่บรรพต), อา+รุห+อ > อารุห+อํ,
ในธัมมนีติ เป็น ปพฺพตมารุเห.
ในธัมมนีติ เป็น ปพฺพตมารุเห.
#กามสฺส (ความต้องการ, กาม) กาม+ส ในธัมมนีติ เป็น กาโม
#จ (ด้วย, และ) นิบาต
#โกธสฺส (ความโกรธ, โทสะ, ขุ่นเคือง) โกธ+ส ในธัมมนีติ เป็น โกโธ
#อิเม (เหล่านี้) อิม+โย
#ปญฺจ (ห้า) ปญฺจ+โย สังขยาสัพพนาม
#สิเน สิเน (ช้า ๆ, ใจเย็น ๆ)
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen