#ทางแห่งความเสื่อม#
๖๗.
อสนฺตสฺส ปิโย โหติ, สนฺเต น กุรุเต ปิยํ;
อสตํ ธมฺมํ โรเจติ, ตํ ปราภวโต มุขํ ฯ
"คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก,
ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก;
ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ,
ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม.“
(#โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๗, #สุตตันตนีติ ๔, #กวิทัปปณีติ ๑๙๘, #ขุ. สุ. ๒๕/๓๐๔ ปราภวสูตร)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#อสนฺตสฺส: (ของอสัตบุรุษ, คนดี) น+สนฺต > อสนฺต+ส
#ปิโย: (ที่รัก, ที่พอใจ) ปิย+สิ (ศัพท์นี้ในพระบาฬีเป็น ปิยา)
#โหติ: (ย่อมมี, ย่อมเป็น) หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
#สนฺเต: (ซึ่งคนดี, สัตบุรุษ ท.) สนฺต+โย
#น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
#กุรุเต: (กระทำ) กร+โอ+เต ตนาทิ. กัตตุ. รูปพิเศษของ กร ธาตุ ส่วนมากเราจะเห็นรูปเป็น กโรติ, กโรนฺติ,
กโรเต, กโรนฺเต เป็นต้น. แต่รูปนี้ให้เอา อ ของธาตุเป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กรสฺสากาโร จ. (รู ๕๒๒).
กโรเต, กโรนฺเต เป็นต้น. แต่รูปนี้ให้เอา อ ของธาตุเป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กรสฺสากาโร จ. (รู ๕๒๒).
#ปิยํ: (ที่รัก, ให้เป็นที่รัก) ปิย+อํ
#อสตํ: (ของอสัตบุรุษ ท.) อสนฺต+นํ
#ธมฺมํ: (ซึงธรรม) ธมฺม+อํ
#โรเจติ: (ชอบใจ, พอใจ, ยินดี, ชื่นชม) รุจ+เณ+ติ จุราทิ. กัตตุ.
#ตํ: (...นั้น) ต+สิ สัพพนาม
#ปราภวโต: (ของผู้มีความเสื่อม) ปราภว+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > ปราภวนฺตุ+ส,
ปราภว แปลว่า ความเสื่อม (นามนาม) + วนฺตุ ปัจจัย เป็น ปราภวนฺตุ แปลว่า ผู้มีความเสื่อม (คุณนาม).
ปราภว แปลว่า ความเสื่อม (นามนาม) + วนฺตุ ปัจจัย เป็น ปราภวนฺตุ แปลว่า ผู้มีความเสื่อม (คุณนาม).
#มุขํ: (ทาง, ปาก, หน้า, มุข) มุข+สิ
สนฺต-สัททปทมาลา ในสัททนีติ ปทมาลา ท่านแจกดังนี้.
สนฺตสทฺทสฺส –
สํ, สนฺโต, สนฺโต, สนฺตา ฯ สํ, สนฺตํ, สนฺเต ฯ สตา, สนฺเตน, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ฯ
สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ สตา, สนฺตา, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ฯ
สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ สติ, สนฺเต, สนฺตสฺมึ, สนฺตมฺหิ, สนฺเตสุ ฯ
โภ สนฺต, ภวนฺโต สนฺโตติ รูปานิ ภวนฺติ ฯ
สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ สตา, สนฺตา, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ฯ
สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ สติ, สนฺเต, สนฺตสฺมึ, สนฺตมฺหิ, สนฺเตสุ ฯ
โภ สนฺต, ภวนฺโต สนฺโตติ รูปานิ ภวนฺติ ฯ
แปลว่า รูปานิ อ. รูปทั้งหลาย สนฺตสทฺทสฺส แห่งสันตศัพท์ ภวนฺติ ย่อมมี อิติ ว่า...
ปฐมาวิภัตติ : สํ, สนฺโต, สนฺโต, สนฺตา ฯ
ทุติยาวิภัตติ : สํ, สนฺตํ, สนฺเต ฯ
ตติยาวิภัตติ : สตา, สนฺเตน, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ฯ
จตุตถีวิภัตติ : สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ
ปัญจมีวิภัตติ : สตา, สนฺตา, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ฯ
ฉัฏฐีวิภัตติ : สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํ ฯ
สัตตมีวิภัตติ : สติ, สนฺเต, สนฺตสฺมึ, สนฺตมฺหิ, สนฺเตสุ ฯ
อาลปน(วิภัตติ): โภ สนฺต, ภวนฺโต สนฺโต ฯ
ดังนี้.
……………….
สุชนกณฺโฑ นิฎฺฐิโต ฯ
สุชนกัณฑ์ จบแล้ว ต่อไปจะได้ขึ้นกัณฑ์ที่ ๓ ชื่อ พาลกัณฑ์ - หมวดคนพาล ตามลำดับ.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen