#สวยแต่รูป-จูบไม่หอม#
๓๖.
รูปโยพฺพนสมฺปนฺนา, วิสาลกุลสมฺภวา;
วิชฺชาหีนา น โสภนฺติ, นิคนฺธา อิว กึสุกา ฯ
„ผู้ถึงพร้อมด้วยรูปและวัย,
เกิดในตระกูลใหญ่ไพศาล;
แต่ขาดความรู้ ย่อมไม่งาม,
(#โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๖, #ธัมมนีติ ๒๐, #กวิทัปปณนีติ ๒๘, #จาณักยนีติ ๗)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#รูปโยพฺพนฺนสมฺปนฺนา (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยรูปและความหนุ่มสาว)
รูป (รูปร่าง, หน้าตา) +โยพฺพน (ความเป็นหนุ่ม) +สมฺปนฺน (ถึงพร้อมแล้ว) > รูปโยพฺพนสมฺปนฺน+โย
แปลง โย เป็น อา ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเย. (รู ๖๙)
รูป (รูปร่าง, หน้าตา) +โยพฺพน (ความเป็นหนุ่ม) +สมฺปนฺน (ถึงพร้อมแล้ว) > รูปโยพฺพนสมฺปนฺน+โย
แปลง โย เป็น อา ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเย. (รู ๖๙)
#วิสาลกุลสมฺภวา (ผู้สมภพในตระกูลไพศาล, ผู้เกิดในตระกูลใหญ่, -สกุลดัง)
วิสาล (กว้าง, ใหญ่, ไพศาล) +กุล (ตระกูล, สกุล) +สมฺภว (การเกิด, สมภพ) > วิสาลกุลสมฺภว+โย
วิสาล (กว้าง, ใหญ่, ไพศาล) +กุล (ตระกูล, สกุล) +สมฺภว (การเกิด, สมภพ) > วิสาลกุลสมฺภว+โย
#วิชฺชาหีนา (ผู้ทรามด้วยวิชา, ขาดความรู้) วิชฺชา+หีน > วิชฺชาหีน+โย, หีน (เลว, ต่ำช้า, ทราม) ค. ๑)
วิเคราะห์ว่า...วิชฺชา หีนา อสฺสาติ วิชฺชาหีโน (ความรู้ของเราเลว เหตุนั้น เขาชื่อว่า ผู้มีวิชาเลว)
เป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, หรือ ๒. วิ. วิชฺชาย หีโน วิชฺชาหีโน (ผู้ทรามแล้ว ด้วยความรู้ ชื่อว่า วิชฺชาหีน,
ผู้ทรามด้วยวิชา) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส.
วิเคราะห์ว่า...วิชฺชา หีนา อสฺสาติ วิชฺชาหีโน (ความรู้ของเราเลว เหตุนั้น เขาชื่อว่า ผู้มีวิชาเลว)
เป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, หรือ ๒. วิ. วิชฺชาย หีโน วิชฺชาหีโน (ผู้ทรามแล้ว ด้วยความรู้ ชื่อว่า วิชฺชาหีน,
ผู้ทรามด้วยวิชา) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส.
#น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
#โสภนฺติ (ย่อมงาม, สวยงาม) √สุภ+อ+อนฺเต ภูวาทิ. กัตตุ.
มาจาก สุภ-ทิตฺติยํ (สุภธาตุเป็นไปในอรรถว่ารุ่งเรือง งดงาม) + อ ปัจจัย เป็นหมวดภูวาทิคณะ
+ อนฺติ วิภัตติหมวดวัตตมานาวิภัตติ ให้วุทธิ (พฤทธิ์) อุ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู. ๔๓๔)
แยก ลบ รวม สำเร็จรูป = โสภนฺติ แปลว่า ย่อมงดงาม ยอ่มรุ่งเรือง,
ตัวอย่างเช่น ชนา อิมายํ สภายํ โสภนฺติ แปลว่า ชนา ชน ท. โสภนฺติ ย่อมงาม สภายํ ในที่ประชุม อิมายํ นี้)
มาจาก สุภ-ทิตฺติยํ (สุภธาตุเป็นไปในอรรถว่ารุ่งเรือง งดงาม) + อ ปัจจัย เป็นหมวดภูวาทิคณะ
+ อนฺติ วิภัตติหมวดวัตตมานาวิภัตติ ให้วุทธิ (พฤทธิ์) อุ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู. ๔๓๔)
แยก ลบ รวม สำเร็จรูป = โสภนฺติ แปลว่า ย่อมงดงาม ยอ่มรุ่งเรือง,
ตัวอย่างเช่น ชนา อิมายํ สภายํ โสภนฺติ แปลว่า ชนา ชน ท. โสภนฺติ ย่อมงาม สภายํ ในที่ประชุม อิมายํ นี้)
นามกิตก์ = โสภา, โสภนํ, , กิริยากิตก์ = โสภิโต
#นิคฺคนฺธา (ไม่มีกลิ่น, ไร้กลิ่น) นิคฺคนฺธ+โย, ศัพท์ที่เกี่ยวกับกลิ่น เช่น สุคนฺธ (กลิ่นหอม), ทุคฺคนฺธ (กลิ่นเหม็น)
#อิว (ดุจ, ราวกะ, เหมือน) นิบาตบอกอุปมา.
#กึสุกา (ต้นทองกวาว) กึสุก+โย, ต้นทองกวาวเป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยงาม แต่ไม่มีกลิ่น
จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีวิชาความรู้ในคาถานี้.
จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีวิชาความรู้ในคาถานี้.
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen