19.07.2018

กวิทัปปณนีติแปล_๕. บัณฑิตคือคนดี

#บัณฑิตคือคนดี#
๕.
สุจินฺติตจินฺตี เจว, สุภาสิตภาสีปิ จ;
สุกตกมฺมการี จ, ปณฺฑิโต สาธุมานุโสฯ


„คนมีปกติคิดแต่เรื่องที่ดี
มีปกติพูดแต่คำที่ดี
มีปกติทำแต่กรรมที่ดี
ชื่อว่า เป็นบัณฑิตเป็นคนดี“

(#กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, คาถาที่ ๕)


……………….

ศัพท์น่ารู้ :

#สุจินฺติตจินฺตี (ผู้ปกติคิดแต่เรื่องดี) สุจินฺติต+จินฺตี > สุจินฺติตจินฺตี+สิ
 

#เจว (ด้วยนั้นเทียว) จ+เอว เมื่อมี จ หลายศัพท์ จ ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว, อนึ่ง การอ่านภาษาบาลีที่ถูกต้องนั้น ควรหยุดตามยติหลัง จ ศัพท์และ วาศัพท์ กล่าวคือ เมื่อมี จ ศัพท์ หรือ วา ศัพท์ อยู่ ให้อ่านควบกับศัพท์หน้า ตัวอย่างการใช้ จ ศัพท์ และ วา ศัพท์ เช่น ปุริโส เจว อิตฺถี จ (ทั้งชายและหญิง), 
มาตา วา ปิตา วา (มาดาหรือบิดา) เป็นต้น.
 

#สุภาสิตภาสีปิ ตัดบทเป็น สุภาสิตภาสี+อปิ, สุภาสิตภาสี (ผู้มีปกติกล่าวแต่คำที่ดี) สุภาสิต+ภาสี > สุภาสิตภาสี+สิ
 

#สุกตกมฺมการี (ผู้มีปกติทำแต่กรรมที่ดี) สุกต+กมฺม > สุกตกมฺม+การี > สุกตกมฺมการี+สิ
 

#ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
 
 #สาธุมานุโส (คนดี, มนุษย์ที่ดี) สาธุ+มานุส > สาธุมานุส+สิ
 

ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงศัพท์ว่า มนุษย์ ๖ ศัพท์ คือ มนุสฺส, มานุส, มจฺจ, มานว, มนุช, นร 
ดังคาถาที่ ๒๒๗ ว่า 

มนุสโส มานุโส มจโจ, มานโว มนุโช นโร; 


โปโส ปุมา จ ปุริโส, โปริโส ปฺยถ ปณฑิโต. 

(แปลว่า) มนุษย์ ๖ ศัพท์ คือ มนุสฺส, มานุส, มจฺจ, มานว, มนุช, นร;
 บุรุษ, ชาย ๔ ศัพท์ คือ โปส, ปุมา, ปุริส, โปริส;
 

บัณฑิต, ผู้รู้, ผู้ฉลาด ๒๕ ศัพท์ คือ ปณฺฑิต.....
(ต่อคาถาที่ ๒๒๘, ๒๒๙)

……………….

Keine Kommentare:

Kommentar veröffentlichen

กวิทัปปณนีติแปล_๓๕. ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด

#ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด# ๓๕. สชาโต เยน ชาเตน, ยาติ วํโส สมุนฺนตึ; ปริวตฺตินิสํสาเร, มโต โก วา น ชายเตฯ „ ความเป็นญาติกันด้วยการเกิดอันใด...