#บัณฑิตกับคนพาล#
๑๒.
อปุฏฺโฐ ปณฺฑิโต เภรี, ปชฺชุนฺโน โหติ ปุจฺฉิโต,
พาโล ปุฏฺโฐ อปุฏฺโฐปิ, พหุมฺปิ ภณเต สทา ฯ
„บัณฑิตไม่ถูกถามจะนิ่งเหมือนกลอง,
เมื่อถูกถามจึงบันลือดุจฟ้าคำราม,
คนพาลจะถูกถามหรือไม่ถูกถามก็ตาม
ย่อมพูดพรำ่ในกาลทุกเมื่อ.
(#โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๒, #ธัมมนีติ ๔๖, #มหารหนีติ ๕๓, กวิทัปปณนีติ ๑๑๒)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#อปุฏฺโฐ (ไม่ถูกถาม) √ปุจฺฉ+ต > ปุฏฺฐ, น+ปุฏฺฐ > อปุฏฺฐ+สิ = อปุฏฺโฐ,
แปลง ต ปัจจัยกับที่สุดธาตุเป็น ฏฺฐ ได้บ้าง § สาทิสนฺตปุจฺฉภนฺชหํสาทีหิ ฏฺโฐ. (รู ๖๒๖),
ในตัปปุริสสมาส แปลง น เป็น อ § อตฺตํ นสฺส ตปฺปุริเส. (รู ๓๔๔)
แปลง ต ปัจจัยกับที่สุดธาตุเป็น ฏฺฐ ได้บ้าง § สาทิสนฺตปุจฺฉภนฺชหํสาทีหิ ฏฺโฐ. (รู ๖๒๖),
ในตัปปุริสสมาส แปลง น เป็น อ § อตฺตํ นสฺส ตปฺปุริเส. (รู ๓๔๔)
#ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
#เภรี, เภริ (กลอง) เภรี+สิ, เภรี มาจาก √ภี+ริ ปัจจัย วิ. ภายนฺติ สตฺตุชนา เอเตนาติ เภริ.
แปลว่า เหล่าศัตรู ย่อมแกรงกลัว ด้วยวัตถุนั่น เหตุนั้น วัตถุนั้น ชือว่า เภริ (อภิธา.สูจิ)
แปลว่า เหล่าศัตรู ย่อมแกรงกลัว ด้วยวัตถุนั่น เหตุนั้น วัตถุนั้น ชือว่า เภริ (อภิธา.สูจิ)
#ปชฺชุนฺโน (เมฆฝน, ห่าฝน, ฝนตกใหญ่, เจ้าแห่งฝน) ปชฺชุนฺน+สิ, มาจาก ปชา+อนฺน+อ,
วิ. ปชานํ โลกานํ อนฺนํ โภชนํ ภวติ เอเตนาติ ปชฺชุนฺโน. แปลว่า ข้าวปลาอาหาร ย่อมมีแก่ประชาชาวโลก
ด้วยฝนใด เหตุนั้น ฝนนั้น ชื่อว่า ปชฺชุนฺน, (ดูอภิธา.ฏีกา ๔๗)
วิ. ปชานํ โลกานํ อนฺนํ โภชนํ ภวติ เอเตนาติ ปชฺชุนฺโน. แปลว่า ข้าวปลาอาหาร ย่อมมีแก่ประชาชาวโลก
ด้วยฝนใด เหตุนั้น ฝนนั้น ชื่อว่า ปชฺชุนฺน, (ดูอภิธา.ฏีกา ๔๗)
#โหติ (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. วุทธิ อุ เป็น โอ § อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔)
#ปุจฺฉิโต (ถูกถาม, ถูกสัมภาษณ์) √ปุจฺฉ+อิ+ต > ปุจฺฉิต+สิ,
#พาโล (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ
#อปุฏฺโฐปิ ตัดบทเป็น อปุฏฺโฐ+อปิ( แม้ไม่ถูกถาม)
#พหุํ (มาก, หลาย, เยอะ) พหุ+อํ
#ภณเต ( กล่าว, พูด, บ่น, พ่น, ยกย่อง) √ภณ+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
#สทา (ในกาลทั้งปวง, ทุกเมื่อ, ทุกเวลา, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา
ในเพราะ ทา ปัจจัย ให้แปลง สพฺพ เป็น ส ได้บ้าง § สพฺพสฺส โส ทามฺหิ วา. (รู ๒๗๗)
ในเพราะ ทา ปัจจัย ให้แปลง สพฺพ เป็น ส ได้บ้าง § สพฺพสฺส โส ทามฺหิ วา. (รู ๒๗๗)
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen