#บางอย่างประมาณได้#
๑๔.
ชลปฺปมาณํ กุมุทฺทนาลํ,
กุลปฺปมาณํ วินโยปมาณํ,
พฺยตฺติปฺปมาณํ กถีตวากฺยํ,
ปถวิยา ปมาณํ ติณมิลาตํ ฯ
“ก้านของบัว ใช้เป็นเครื่องวัดน้ำ,
กิริยามารยาท เป็นเครื่องวัดตระกูล,
คำพูดจา เป็นเครื่องวัดความฉลาด,
ความเฉาของหญ้า เป็นเครื่องวัดดิน.“
(#โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๔, #ธัมมนีติ ๒๕๓, #กวิทัปปณนีติ ๘๕)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#ชลปฺปมาณํ (ประมาณแห่งนำ้, มีน้ำเป็นประมาณ) ชล+ปมาณ > ชลปฺปมาณ+สิ, วิ. ชลสฺส ปมาณํ = ชลปฺปมาณํ.
(ประมาณแห่งน้ำ ชือว่า ชลัปปมาณะ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
(ประมาณแห่งน้ำ ชือว่า ชลัปปมาณะ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
#กุมุทฺทนาลํ (ก้านบัว) = กุมุท+นาล วิ. กุมุทสฺส นาลํ กุมุทนาลํ แปลว่า ก้านแห่งบัว ชื่อว่า กุมุทนาล,
ที่เป็น กุมุทฺท เข้าใจว่า ซ้อน ทฺ มาเพื่อรักษาฉันท์, ในธัมมนีติ เป็น กุมุทนาฬํ
ที่เป็น กุมุทฺท เข้าใจว่า ซ้อน ทฺ มาเพื่อรักษาฉันท์, ในธัมมนีติ เป็น กุมุทนาฬํ
กุมุท (บัว) = กุ+มุท+ณ, วิ. กุยํ ปฐวิยํ โมทตีติ กุมุโท แปลว่า พืชใด ย่อมเบ่งบาน ที่พี้นดิน เหตุนั้น พืชนั้น
ชื่อว่า กุมุท (ดูอภิธาน.สูจิ)
ชื่อว่า กุมุท (ดูอภิธาน.สูจิ)
#กุลปฺปมาณํ (ประมาณแห่งตระกูล) กุล+ปมาณ > กุลปฺปมาณ+สิ
#วินโยปมาณํ (ประมาณแห่งวินัย, ประมาณคือมารยาท) วินย+ปมาณ > วินโยปมาณ+สิ,
คัมภีร์ธัมมนีติ เป็น กรณกมฺมํ
คัมภีร์ธัมมนีติ เป็น กรณกมฺมํ
#พฺยตฺติปฺปมาณํ (ประมาณแห่งปัญญา, เป็นประมาณแห่งความฉลาด) พฺยตฺติ+ปมาณ > พฺยตฺติปฺปมาณ+สิ
#กถิตวากฺยํ (คำพูดที่สนทนา, ประโยคที่กล่าวแล้ว, คำพูดที่เปล่ง) กถิต+วากฺย > กถิตวากฺย+สิ,
คำว่า วากฺยํ (คำพูด, พากย์) มาจาก วจ+ณฺยํ, วิ. วจนียํ วากฺยํ. แปลว่า คำที่ควรกล่าว ชือว่า วากฺย (รู. ๕๕๔)
คำว่า วากฺยํ (คำพูด, พากย์) มาจาก วจ+ณฺยํ, วิ. วจนียํ วากฺยํ. แปลว่า คำที่ควรกล่าว ชือว่า วากฺย (รู. ๕๕๔)
ปถวิยา (แห่งพื้นดิน) ปถวี+ส อิต. แจกเหมือน อิตถี ศัพท์
#ปมาณํ (ประมาณ, เครื่องวัด, ขอบเขต, มาตรฐาน, เหตุ, การนับ) ปมาณ+สิ, คำว่า ปมาณ (ประมาณ)
มาจาก ป+มา+ยุ, วิ. ปมิยตีติ ปมาณํ (สิ่งทีถูกนับ ชื่อว่า ปมาณ) กัมมรูป กัมมสาธนะ.
มาจาก ป+มา+ยุ, วิ. ปมิยตีติ ปมาณํ (สิ่งทีถูกนับ ชื่อว่า ปมาณ) กัมมรูป กัมมสาธนะ.
#ติณมิลาตํ (ความเหี่ยวของหญ้า) ติณ (หญ้า) +มิลาต (เหี่ยวแห้ง) > ติณมิลาต+สิ
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen