#คนไร้มารยาท#
๓๑.
อนวฺหายํ คมยนฺโต, อปุจฺฉา พหุภาสโก;
อตฺตคุณํ ปกาเสนฺโต, ติวิธํ หีนลกฺขณํ ฯ
“เขาไม่เชื้อเชิญ ก็เข้าไปหา,
เขายังไม่เอ่ยถาม ก็พูดพล่าม,
มักอวดอ้างคุณความดีของตน,
(#โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๑, #ธัมมนีติ ๑๑๖, #กวิทัปปณนีติ ๙๒)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#อนวฺหายํ (การไม่ร้องเรียก) น+อวฺหาย,
อวฺหาย (การเรียก, ชื่อ) = อา+วฺเห+ณ แปลง เอ เป็น อาย ด้วยการแบ่งสูตร (โยควิภาค) ว่า “เต อาวายา”
จากสูตรเต็มว่า “เต อาวายา การิเต” (รู. ๕๔๑) = อา+วฺหาย+ณ
จากสูตรเต็มว่า “เต อาวายา การิเต” (รู. ๕๔๑) = อา+วฺหาย+ณ
ลบ ณ ปัจจัยด้วยสูตรว่า การิตานํ โณ โลปํ. (รู. ๕๒๖) = อา+วฺหาย,
รัสสะ อา เป็น อ เพราะเป็นสังโยค ด้วยสูตรว่า “รสฺสํ” (รู. ๓๘) = อวฺหาย,
ลง สิ แปลง สิ เป็น อํ ด้วยสูตรว่า สึ. (รู. ๑๙๕) = อวฺหายํ
กิริยาอาขยาต = วฺเหติ, วฺหายติ, อวฺเหติ, อวฺหายติ, อวฺหาสิ เป็นต้น
กิริยากิตก์, นามกิตก์ = อวฺหิโต, อวฺหา, อวฺหายนา
ตัวอย่างที่ใช้ เช่น วารณาวฺหยนา รุกฺขา (ต้นไม้ชื่อว่า วารณะ), กุมาโร จนฺทสวฺหโย (พระกุมาร นามว่า จันทะ) เป็นต้น
(ดูสัททนีติ ธาตุมาลา ปริจเฉทที่ ๑๖)
(ดูสัททนีติ ธาตุมาลา ปริจเฉทที่ ๑๖)
#คมยนฺโต (ไปอยู่, ไปหา) คมยนฺต+สิ, (มาจาก √คมุ+ณย+อนฺต จุราทิ กัตตุวาจก. มี อา อุปสัคเป็นบทหน้า
แปลว่า รอคอยอยู่, ยังกาลให้ผ่านไปหน่อยหนึ่ง มีรูปเป็น อาคมยนฺโต เป็นต้น,
อนึ่ง ศัพท์ว่า คมยนฺโต เป็นภูวาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก ก็ได้ ให้ตรวจดูความพิศดารในสัททนีติ ธาตุมาลาเถิด)
แปลว่า รอคอยอยู่, ยังกาลให้ผ่านไปหน่อยหนึ่ง มีรูปเป็น อาคมยนฺโต เป็นต้น,
อนึ่ง ศัพท์ว่า คมยนฺโต เป็นภูวาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก ก็ได้ ให้ตรวจดูความพิศดารในสัททนีติ ธาตุมาลาเถิด)
#อปุจฺฉา (ไม่ถูกถาม) น+ปุจฺฉา > อปุจฺฉา+? (ไม่แน่ใจว่าประกอบวิภัตติอะไรดีถึงจะเหมาะสม)
#พหุภาสโก (คนพูดมาก) พหุ (มาก, หลาย) +ภาสก (คนพูด, ผู้กล่าว) > พหุภาสก+สิ
#อตฺตคฺคุณํ (คุณของตน) อตฺต (ตน, ตัวเอง) +คุณ (คุณ, ความดี) > อตฺตคฺคุณ+อํ
#ปกาสนฺโต (ประกาศ, อวดอ้าง) ป+√สํส+อ+อนฺต > ปกาสนฺต+สิ
#ติวิธํ (๓ อย่าง, ๓ ประการ) ติ+วิธ > ติวิธ+สิ
#หีนลกฺขณํ Yลักษณะคนเลว, -คนต่ำช้า, หีนบุคคล) มาจาก หีน (เลว, ต่ำช้า, ถ่อย) +ลกฺขณ (ลักษณะ, เครื่องหมาย,
ที่ให้จดจำ) หีนลกฺขณ+สิ
ที่ให้จดจำ) หีนลกฺขณ+สิ
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen