#หัวใจคนดี จ-ภ-ก-ส#
๔๒.
จช ทุชฺชนสํสคฺคํ, ภช สาธุสมาคมํ;
กร ปุญฺญมโหรตฺตึ, สร นิจฺจมนิจฺจตํ ฯ
“จงเลิก คลุกคลีกับคนชั่ว,
จงคบหา สมาคมกับคนดี,
จงสร้าง กุศลตลอดวันและคืน,
(#โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๔๒, #ธัมมนีติ ๔๑๑, #กวิทัปปณนีติ ๑๗๘)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#จช (จงสละ, เลิก) √จช+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
#ทุชฺชนสํสคฺคํ (ซึ่งการคลุกคลี, คละเคล้ากับคนชั่ว) ทุชฺชน+สํสคฺค > ทุชฺชนสํสคฺค+อํ
#ภช (จงคบหา, สมาคม) √ภช+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
#สาธุสมาคมํ (ซึ่งการสมาคมกับคนดี) สาธุ+สมาคม > สาธุสมาคม+อํ
#กร (จงทำ, สร้าง) = √กร+โอ+หิ, ตนาทิ. กัตตุ.
#ปุญฺญมโหรตฺตึ: = ปุญฺญํ+อโหรตฺตึ (ซึงบุญ, ความดี+สิ้นกลางวันและกลางคืน) ปุญฺญ+อํ, อโหรตฺติ+อํ,
โดยมากเป็น อโหรตฺตํ
โดยมากเป็น อโหรตฺตํ
#สร (จงระลึก) √สร+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
#นิจฺจมนิจฺจตํ ตัดบทเป็น นิจฺจํ+อนิจฺจตํ (ซึ่งความไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน+เป็นนิจ,
เป็นนิตย์) นิจฺจ+อํ = นิจฺจํ (แน่นอน, เสมอ). นิจฺจ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต นิจฺจตา, น+นิจฺจตา > อนิจฺจตา+อํ
วิ. นิจฺจสฺส ภาโว = นิจฺจตา (ความเป็นแห่งความเที่ยง ชื่อว่า นิจฺจตา), น นิจฺจตา = อนิจฺจตา
(ความเป็นของเที่ยง หามิได้ ชื่อว่า อนิจฺจตา).
เป็นนิตย์) นิจฺจ+อํ = นิจฺจํ (แน่นอน, เสมอ). นิจฺจ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต นิจฺจตา, น+นิจฺจตา > อนิจฺจตา+อํ
วิ. นิจฺจสฺส ภาโว = นิจฺจตา (ความเป็นแห่งความเที่ยง ชื่อว่า นิจฺจตา), น นิจฺจตา = อนิจฺจตา
(ความเป็นของเที่ยง หามิได้ ชื่อว่า อนิจฺจตา).
.....อธิบายธาตุทั้งสี่โดยสังเขป.
จช (จงสละ) = จช-จาเค+อ+หิ, จชธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าสละ
ภช (จงคบ) = ภช-เสวายํ+อ+หิ, ภชธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าคบหา
กร (จงทำ) = กร-กรเณ+อ+หิ, กรธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าทำ
สร (จงระลึก) = สร-คติจินฺตายํ+อ+หิ, สรธาตุ-เป็นไปในอรรถคิดคำนึง
ทั้ง ๔ ศัพท์นี้ + อ ปัจจัย + หิ วิภัตติ เป็นหมวดปัญจมีวิภัตติ
(ปญฺจมี ตุ อนฺตุ, หิ ถ, มิ ม, ตํ อนฺตํ, สฺสุ วฺโห, เอ อามเส) ปรัสสบท, มัชฌิมบุรุษ, เอกวจนะ.
(ปญฺจมี ตุ อนฺตุ, หิ ถ, มิ ม, ตํ อนฺตํ, สฺสุ วฺโห, เอ อามเส) ปรัสสบท, มัชฌิมบุรุษ, เอกวจนะ.
หลัง อ ปัจจัย ให้ลบ หิ วิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า หิ โลปํ วา. (รู.๔๕๒)
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen