#ยาพิษที่ยิ่งกว่ายาพิษ#
๖๑.
น วิสํ วิสมิจฺจาหุ, ธนํ สงฺฆสฺส อุจฺจเต;
วิสํ เอกํว หนติ, สพฺพํ สงฺฆสฺส สนฺตกํ ฯ
“เหล่าผู้รู้ ไม่เรียกยาพิษว่า เป็นพิษ,
แต่เรียกทรัพย์ของสงฆ์ว่า เป็นพิษ,
ยาพิษฆ่าคนตายได้เพียงชาติเดียว,
แต่ทรัพย์ของสงฆ์ ฆ่าคนได้ทุกชาติ.“
(#โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๑, #กวิทัปปณีติ ๑๙๔)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#น: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาต
#วิสํ: (ยาพิษ, พิษ) วิส+อํ
#วิสมิจฺจาห: ตัดบทเป็น วิสํ+อิติ+อาห (กล่าวว่ายาพิษ) วิสํ (ยาพิษ, สิ่งเป็นพิษ) วิส+สิ,
อิติ (ว่า, คือ) เป็นนิบาต, อาห (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว) √พฺรู+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
(มาจาก: √พฺรู-วิยตฺติยํ วาจายํ ในความกล่าวชัดถ้อยคำ + อ ปัจจัย หมวดภูธาตุ + อนฺติ ปัจจัย,
หมวดวัตตมานา., ปรัสสบท, ปฐมบุรุษ, พหูพจน์),
อิติ (ว่า, คือ) เป็นนิบาต, อาห (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว) √พฺรู+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
(มาจาก: √พฺรู-วิยตฺติยํ วาจายํ ในความกล่าวชัดถ้อยคำ + อ ปัจจัย หมวดภูธาตุ + อนฺติ ปัจจัย,
หมวดวัตตมานา., ปรัสสบท, ปฐมบุรุษ, พหูพจน์),
ให้ลบ อ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า – โลปญฺเจตฺตมกาโร. (รู ๔๘๗),
ให้แปลง ติ, อนฺติ เป็น อ, อุ และแปลง พฺรู เป็น อาห ด้วยมหาสูตรว่า – กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘)
ให้แปลง ติ, อนฺติ เป็น อ, อุ และแปลง พฺรู เป็น อาห ด้วยมหาสูตรว่า – กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘)
ตัวอย่างการแจกกิริยาปทมาลา
โส พฺรวีติ, พฺรูติ, อาห (เขา ย่อมกล่าว), เต พฺรุวนฺติ, อาหุ (พวกเขา ย่อมกล่าว), ตฺวํ พฺรูสิ (ท่าน ย่อมกล่าว),
ตุมฺเห พฺรูถ พวกท่าน ย่อมกล่าว), อหํ พฺรูมิ (เรา ย่อมกล่าว), มยํ พฺรูม (พวกเรา ย่อมกล่าว) เป็นต้น
ตุมฺเห พฺรูถ พวกท่าน ย่อมกล่าว), อหํ พฺรูมิ (เรา ย่อมกล่าว), มยํ พฺรูม (พวกเรา ย่อมกล่าว) เป็นต้น
#ธนํ: (ซึ่งงทรัพย์) ธน+สิ
#สงฺฆสฺส: (ของสงฆ์) สงฺฆ+ส
#อุจฺจเต: (ย่อมเรียก, กล่าว) √วจ+ย+เต ภูวาทิ. กัมม.,
แปลง ว เป็น อุ ด้วยสูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) = อุจฺ+ย+เต,
แปลง จฺย เป็น จ ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺคยการวการตฺตํ สธาตฺวนฺตสฺส. (รู ๔๔๗) = อุ จ+เต,
ซ้อน จฺ (สทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = อุจฺจ+เต
รวมเป็น อุจฺจเต แปลว่า อันเขาย่อมกล่าว.
แปลง ว เป็น อุ ด้วยสูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) = อุจฺ+ย+เต,
แปลง จฺย เป็น จ ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺคยการวการตฺตํ สธาตฺวนฺตสฺส. (รู ๔๔๗) = อุ จ+เต,
ซ้อน จฺ (สทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = อุจฺจ+เต
รวมเป็น อุจฺจเต แปลว่า อันเขาย่อมกล่าว.
#วิสํ: (ยาพิษ, พิษ) วิส+สิ
#เอกํว: ตัดบทเป็น เอกํ+เอว (...หนึ่งนั่นเทียว, เพียง...ครั้งหนึ่ง) เอกํ (ซึ่ง...หนึ่ง, เดียว) เอก+อํ สัพพนาม,
เอว (นั่นเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาต
เอว (นั่นเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาต
#หนติ: (ย่อมฆ่า, กำจัด, ผลาญ, เบียดเบียน, รังครวญ) √หน+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
#สพฺพํ: (ทั้งปวง, ทั้งหมด, สิ้นเชิง) สพฺพ+อํ
#สงฺฆสฺส: (ของสงฆ์) สงฺฆ+ส
#สนฺตกํ (ของมีอยู่, ทรัพย์) สนฺตก+สิ
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen