#ฆ่าโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก#
๕๗.
โกธํ วิหิตฺวาน กทาจิ น โสเจ,
มกฺขปฺปหานํ อิสโย อวณฺณยุํ;
สพฺเพส ผารุสวจํ ขเมถ,
เอตํ ขนฺตึ อุตฺตมมาหุ สนฺโต ฯ
“บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหน ๆ,
ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่,
บุคคลควรอดทนคำหยาบของชนทั้งปวง,
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.“
(#โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๗, #กวิทัปปณีติ ๑๙๐, #ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๕๘)
……………….
อธิบายศัพท์:
#โกธํ: (ซึ่งความโกรธ) โกธ+อํ
#วิหิตฺวา (ละแล้ว, ทิ้งแล้ว) วิ+หา+อิ+ตฺวา > วิหิตฺวา+สิ, ลบ สิ วิภัตติ จัดเป็นนิบาต,
ในพระบาฬี เป็น วธิตฺวา (ฆ่าแล้ว, เพราะฆ่า, กำจัด) หน-หึสาคตีสุ+อิ+ตฺวา แปลง หน เป็น วธ
ในเพราะวิภัตติและปัจจัยทั้งปวง ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า วโธ วา สพฺพตฺถ. (รู ๕๐๓)
ในพระบาฬี เป็น วธิตฺวา (ฆ่าแล้ว, เพราะฆ่า, กำจัด) หน-หึสาคตีสุ+อิ+ตฺวา แปลง หน เป็น วธ
ในเพราะวิภัตติและปัจจัยทั้งปวง ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า วโธ วา สพฺพตฺถ. (รู ๕๐๓)
#กทาจิ (ในกาลไหนๆ, ในกาลทุกเมื่อ) กึ+ทา+จิ (กึ สัพพนาม+ทา ปัจจัย+ จิ ศัพท์)
ใชัในอรรถทั้งปวง หรือ สกลัตถะ.
ใชัในอรรถทั้งปวง หรือ สกลัตถะ.
#น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
#โสเจ (เศร้าโศก, เสียใจ) สุจ+อ+ติ,(+เอยฺย) ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ติ (เอยฺย) เป็น เอ ได้บ้าง.
ในพระบาฬี เป็น โสจติ (ย่อมเศร้าโศก)
ในพระบาฬี เป็น โสจติ (ย่อมเศร้าโศก)
#มกฺขปฺปหานํ (ซึ่งการละความแข่งดี, ประหาณความอวดดี) มกฺข (แข่งดี, โอ้อวด)
+ ปหาน (ละ, ประหาน) > มกฺขปฺปหาน+อํ
+ ปหาน (ละ, ประหาน) > มกฺขปฺปหาน+อํ
#อิสโย: (ฤาษี ท.) อิสิ+โย
#อวณฺณยุํ (ย่อมยกย่อง, สรรเสริญแล้ว) อ+วณฺณ+ณย+อุํ จุราทิ. กัตตุ.
ในพระบาฬีเป็น วณฺณยนฺติ (ย่อมสรรเสริญ).
ในพระบาฬีเป็น วณฺณยนฺติ (ย่อมสรรเสริญ).
#สพฺเพส = สพฺเพสํ (...ทังปวง) สพฺพ+นํ สัพพนาม, ในพระบาฬีเป็น สพฺเพสํ.
#ผรุสวจํ (คำหยาบ, คำกระด้าง) ผรุส+วจ > ผรุสวจ+อํ,
ในพระบาฬี เป็น วุตฺตํ ผรุสํ (คำหยาบ อันบุคคลกล่าวแล้ว).
ในพระบาฬี เป็น วุตฺตํ ผรุสํ (คำหยาบ อันบุคคลกล่าวแล้ว).
#ขเมถ (ควรอดทน) √ขมุ+อ+เอถ ภูวาทิ. กัตตุ.
#เอตํ (นั้น) เอต+อํ สัพพนาม
#ขนฺตึ (ซึ่งความอดทน, อดกลั้น) ขนฺติ+อํ
#อุตฺตมมาหุ: ตัดบทเป็น อุตฺตมํ+อาหุ (กล่าว...สูงสุด) #อุตฺตมํ (ว่าสูงสุด, อุดม) อุตฺตม+อํ,
#อาหุ (กล่าว) √พฺรู+อ+อนฺติ วัตตมานา. หรือ √พฺรู+อ+อุ ปโรกขา. ก็ได้ ภูวาทิ. กัตตุ.,
แปลง พฺรู เป็น อาห ด้วยสูตรว่า พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. (รู ๔๖๕),
และ แปลง อนฺติ เป็น อุ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ภูวาทิ.
#อาหุ (กล่าว) √พฺรู+อ+อนฺติ วัตตมานา. หรือ √พฺรู+อ+อุ ปโรกขา. ก็ได้ ภูวาทิ. กัตตุ.,
แปลง พฺรู เป็น อาห ด้วยสูตรว่า พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. (รู ๔๖๕),
และ แปลง อนฺติ เป็น อุ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ภูวาทิ.
#สนฺโต: (สัตบุรุษ, คนดี ท.) สนฺต+โย, เอา นฺต เป็น นฺตุ ด้วยสูตรว่า เสเสสุ นฺตุว. (รู ๑๐๘),
แปลง นฺตุ กับ โย เป็น นฺโต ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นฺตุสฺส นฺโต. (รู ๙๙)
แปลง นฺตุ กับ โย เป็น นฺโต ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นฺตุสฺส นฺโต. (รู ๙๙)
ส่วนในพระบาฬี (ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๕๘) มีข้อความเหมือนกวิทัปปณนีติ ดังนี้
‘‘โกธํ วธิตฺวา น กทาจิ โสจติ,
มกฺขปฺปหานํ อิสโย วณฺณยนฺติ;
สพฺเพสํ วุตฺตํ ผรุสํ ขเมถ,
เอตํ ขนฺติํ อุตฺตมมาหุ สนฺโต’’ ฯ
"บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ,
ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่;
บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวงกล่าว,
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.“
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen