#สร้างฝันให้เป็นจริง#
๑๑๖.
ธนมิจฺเฉยฺย วาณิชฺโช, วิชฺชมิจฺเฉ ภเช สุตํ;
ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถึ, ราชามจฺจํ วสํ คเมฯ
อยากมั่งมีให้เป็นพ่อค้า
อยากมีวิชา ต้องคบผู้รู้
อยากมีลูก ต้องมีเมียสาว
อยากเป็นราชอำมาตย์
ต้องคบหาราชปุโรหิต.
(#โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๑๖, #ธัมมนีติ ๒๒๓, #กวิทัปปณนีติ ๒๕๖)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๔ ภาค แต่ละภาค มี ๒ ประโยค ขอแปลย่อ ๆ พอเป็นแนวทางแก่นักศึกษาใหม่.
๑.) ธนมิจฺเฉยฺย วาณิชฺโช,
ผู้ใด พึงปรารถนา ทรัพย์, ผู้นั้น ควรเป็นพ่อค้า.
๒.) วิชฺชมิจฺเฉ ภเช สุตํ;
ผู้ใด พึงปรารถนา ความรู้, ผู้นั้น พึงคบหา บัณฑิต.
๓.) ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถึ,
ผู้ใด พึงปรารถนาบุตร, ผู้นั้นพึงแต่งงานกับหญิงสาว.
๔.) ราชามจฺจํ วสํ คเม.
ผู้ใด พึงปรารถนา เป็นราชอำมาตย์, ผู้นั้น พึงคบหาราชปุโรหิต.
#ธนมิจฺเฉ ตัดบทเป็น ธนํ+อิจฺเฉ, #ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ) ธน+อํ นป., #อิจฺเฉ (พึงปรารถนา, ต้องการ, อยากได้) √อิสุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดของ อิสุ เป็น จฺฉ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
#วาณิชฺโช (พ่อค้า, นักการค้า) วาณิชฺช+สิ ในธัมมนีติ เป็ฯ วาณิเชยฺย (พึงค้าขาย).
#สปฺปมิจฺเฉ ตัดบทเป็น สิปฺปํ+อิจฺเฉ, #สิปฺปํ (ศิลปะ, วิชา, ความรู้) สิปฺป+อํ
#ภเช (คบหา, สมาคม) √ภช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
#สุตํ (ผู้คงแก่เรียน, ผู้มีความรู้, คนมีการศึกษา, บัณฑิต) สุต+อํ, ในธัมมนีติ เป็น พหุสฺสุเต (ผู้คงแก่เรียน, พหูสูตร).
#ปุตฺตมิจฺเฉ: ตัดบทเป็น ปุตฺตํ+อิจฺเฉ, ปุตฺต+อํ ป.
#ตรุณิตฺถึ (หญิงรุ่นสาว, หญิงวัยรุ่น) ตรุณ (รุ่น, หนุ่ม) + อิตฺถี (สตรี, หญิง) > ตรุณิตฺถี+อํ, ในธัมมนีติ เป็น นาริกญฺเญ.
#ราชามจฺจํ (อำมาตย์ของพระราชา, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) ราช (พระราชา) + อามจฺจ (อำมาตย์) > ราชามจฺจ+อํ
#วสํ (อำนาจ) วส+อํ, ในที่นี้ขอแปลว่า ผู้มีอำนาจ หมายถึง ปุโรหิต.
#คเม (พึงถึง, บรรลุ) √คมุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ส่วนในธัมมนีติ และ กวิทัปปณนีติ เป็น อิจฺฉาคเต (ผู้มีความปรารถนาอันถึงแล้่ว)
……………….
๑๑๖.
ธนมิจฺเฉยฺย วาณิชฺโช, วิชฺชมิจฺเฉ ภเช สุตํ;
ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถึ, ราชามจฺจํ วสํ คเมฯ
อยากมั่งมีให้เป็นพ่อค้า
อยากมีวิชา ต้องคบผู้รู้
อยากมีลูก ต้องมีเมียสาว
อยากเป็นราชอำมาตย์
ต้องคบหาราชปุโรหิต.
(#โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๑๖, #ธัมมนีติ ๒๒๓, #กวิทัปปณนีติ ๒๕๖)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๔ ภาค แต่ละภาค มี ๒ ประโยค ขอแปลย่อ ๆ พอเป็นแนวทางแก่นักศึกษาใหม่.
๑.) ธนมิจฺเฉยฺย วาณิชฺโช,
ผู้ใด พึงปรารถนา ทรัพย์, ผู้นั้น ควรเป็นพ่อค้า.
๒.) วิชฺชมิจฺเฉ ภเช สุตํ;
ผู้ใด พึงปรารถนา ความรู้, ผู้นั้น พึงคบหา บัณฑิต.
๓.) ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถึ,
ผู้ใด พึงปรารถนาบุตร, ผู้นั้นพึงแต่งงานกับหญิงสาว.
๔.) ราชามจฺจํ วสํ คเม.
ผู้ใด พึงปรารถนา เป็นราชอำมาตย์, ผู้นั้น พึงคบหาราชปุโรหิต.
#ธนมิจฺเฉ ตัดบทเป็น ธนํ+อิจฺเฉ, #ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ) ธน+อํ นป., #อิจฺเฉ (พึงปรารถนา, ต้องการ, อยากได้) √อิสุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดของ อิสุ เป็น จฺฉ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
#วาณิชฺโช (พ่อค้า, นักการค้า) วาณิชฺช+สิ ในธัมมนีติ เป็ฯ วาณิเชยฺย (พึงค้าขาย).
#สปฺปมิจฺเฉ ตัดบทเป็น สิปฺปํ+อิจฺเฉ, #สิปฺปํ (ศิลปะ, วิชา, ความรู้) สิปฺป+อํ
#ภเช (คบหา, สมาคม) √ภช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
#สุตํ (ผู้คงแก่เรียน, ผู้มีความรู้, คนมีการศึกษา, บัณฑิต) สุต+อํ, ในธัมมนีติ เป็น พหุสฺสุเต (ผู้คงแก่เรียน, พหูสูตร).
#ปุตฺตมิจฺเฉ: ตัดบทเป็น ปุตฺตํ+อิจฺเฉ, ปุตฺต+อํ ป.
#ตรุณิตฺถึ (หญิงรุ่นสาว, หญิงวัยรุ่น) ตรุณ (รุ่น, หนุ่ม) + อิตฺถี (สตรี, หญิง) > ตรุณิตฺถี+อํ, ในธัมมนีติ เป็น นาริกญฺเญ.
#ราชามจฺจํ (อำมาตย์ของพระราชา, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) ราช (พระราชา) + อามจฺจ (อำมาตย์) > ราชามจฺจ+อํ
#วสํ (อำนาจ) วส+อํ, ในที่นี้ขอแปลว่า ผู้มีอำนาจ หมายถึง ปุโรหิต.
#คเม (พึงถึง, บรรลุ) √คมุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ส่วนในธัมมนีติ และ กวิทัปปณนีติ เป็น อิจฺฉาคเต (ผู้มีความปรารถนาอันถึงแล้่ว)
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen