#บูชาถูกวิธีย่อมมีผล#
๑๒๔.
ปิฎฺฐิโตกฺกํ
นิเสเวยฺย,
กุจฺฉินาว
หุตาสนํ;
สามิกํ
สพฺพภาเคน,
ปรโลกํ
อโมหวา ฯ
„พึงบูชาตะวันโดยข้างหลัง
พึงบูชาไฟ
ด้วยท้อง(ด้านหน้า)นั่นเทียว
พึงบูชาเจ้านาย
ด้วยกายทั้งปวง
คนไม่งมงาย
พึงบูชาโลกหน้าเถิด.“
(#โลกนีติ
หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๔,
#ธัมมนีติ
๙๑,
#มหารหนีติ
๑๙๓)
……………….
ศัพท์น่ารู้
:
คาถานี้
แบ่งเป็น ๔ ประโยค
ขอแปลเป็นตัวอย่างแก่นักศึกษาใหม่
ดังนี้.
๑.)
ปิฎฺฐิโตกฺกํ
นิเสเวยฺย,
พึงบูชาพระอาทิตย์
โดยข้างหลัง.
๒.)
กุจฺฉินาว
หุตาสนํ (นิเวเสยฺย).
พึงบูชา
เตาไฟ ด้วยท้องนั่นเทียว
๓.)
สามิกํ
สพฺพภาเคน (นิเวเสยฺย).
พึงบูชาเจ้านาย
ด้วยส่วนทั้งปวง.
๔.)
ปรโลกํ
อโมหวา (นิเวเสยฺย).
ผู้ไม่งามงาย
พึงบูชาโลกหน้าเถิด.
#ปิฎฺฐิโตกฺกํ
ตัดบทเป็น ปิฏฺฐิโต+อกฺกํ,
ปิฏฺฐิ+โต
=
ปิฏฺฐิโต
(ข้างหลัง,
ด้านหลัง),
อกฺก+อํ
=
อกฺกํ
(ซึ่งพระอาทิตย์,
ตะวัน)
#นิเสเวยฺย
(พึงคบ,
พึงติดตาม,
พึงบูชา)
นิ+√เสว+อ+เอยฺย
ภูวาทิ.
กัตตุ.
#กุจฺฉินาว
ตัดบทเป็น กุจฉฺนา+เอว
(ด้วยท้อง,
-ครรภ์,
-โพรง,
-ภายใน
+
นั่นเทียว)
กุจฺฉิ+นา
#หุตาสนํ
(อาสนะสำหรับบูชา,
การบูชาไฟ,
กองไฟ)
หุต
(การบูชา,
เครื่องบูชา)
+ อาสน
(ที่นั่ง,
อาสนะ)
> หุตาสน+อํ
บาทคาถานี้ในธัมมนีติ เป็น
นิเสเว อคฺคิกุจฺฉนา.
#สามิกํ(ซึ่งเจ้านาย,
จ้าว,
เจ้า)
สามิก+อํ.
#สพฺพภาเคน
(ด้วยส่วนทั้งปวง)
สพฺพ+ภาค
>
สพฺพภาค+นา,
ในธัมมนีติ
เป็น สพฺพกาเยน (ด้วยกายทั้งหมด)
สพฺพ
(ทั้งปวง)
+ กาย
(กาย,
กอง,
ฝูง,
หมู่,
ประชุม)
> สพฺพกาย+นา
#ปรโลกํ
(โลกอื่น,
โลกหน้า,
ชาติหน้า)
ปร
(อื่น,
ต่าง,
ภายนอก,
เบื้องหน้า)
+ โลก
(โลก,
สัตว์,
พลเมือง)
> ปรโลก+อํ
#อโมหวา
(ผู้ไม่มีความหลง)
อโมหวนฺตุ+สิ
ในธัมมนีติ เป็น อมุฬฺหโก
(คนไม่หลง,
คนไม่งมงาย)
น+มุฬฺหก
>
อมุฬฺหก+สิ,
ในมหารหนีติ
เป็น อมายาย (โดยไม่มีมายา).
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen