#พ่อแม่ดีเป็นศรีแก่ลูกหลาน#
๕๓.
มาตา เสฎฺฐสฺส สุภาสา, ปิตา เสฎฺฐสฺส สุกฺริยา;
อุโภ มาตา ปิตา เสฎฺฐา, สุภาสา จ สุกีริยา ฯ
“ ลูกมีแม่ที่ประเสริฐ จึงพูดจาดี,
ลูกมีพ่อที่ประเสริฐ จึงมีกิริยางาม,
แม่และพ่อทั้งสองเป็นคนประเสริฐ,
ลูกย่อมจะพูดจาดีและมีกิริยางาม.“
(#โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๓, #ธัมมนีติ ๒๕๐, #กวิทัปปณีติ ๑๘๗)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#มาตาเสฏฺฐสฺส (ผู้มีมารดาประเสริฐ, -ดี) มาตุ+เสฏฺฐ > มาตา เสฏฺฐ+ส
(หมายเหตุ: ศัพท์นี้ ต้นฉบับท่านเขียนแยกกัน ตามที่ปรากฏเหมือนข้างบนนี้,
ส่วนเมื่อวานนี้ ท่านเขียนติดกัน, ถ้าเขียนแยกกัน มาตา เสฏฺฐสฺส นั้นสมควร,
แต่ถ้าเขียนติดกัน ควรเป็น มาตุเสฏฺฐสฺส จึงจะเหมาะสม,
ขอท่านนักศึกษาช่วยนำไปพิจารณาหาข้อยุติตามสมควรเถิด)
(หมายเหตุ: ศัพท์นี้ ต้นฉบับท่านเขียนแยกกัน ตามที่ปรากฏเหมือนข้างบนนี้,
ส่วนเมื่อวานนี้ ท่านเขียนติดกัน, ถ้าเขียนแยกกัน มาตา เสฏฺฐสฺส นั้นสมควร,
แต่ถ้าเขียนติดกัน ควรเป็น มาตุเสฏฺฐสฺส จึงจะเหมาะสม,
ขอท่านนักศึกษาช่วยนำไปพิจารณาหาข้อยุติตามสมควรเถิด)
#สุภาสา (คำพูดดี, -สุภาพ, -อ่อนหวาน) สุ+ภาสา > สุภาสา+สิ
#ปิตาเสฏฺฐสฺส (ผู้มีบิดาประเสริฐ, -ดี) ปิตุ+เสฏฺฐ > ปิตาเสฏฺฐ+ส เสฏฺฐ (ประเสริฐที่สุด) ค.
(คุณศัพท์) เป็นศัพท์ตัทธิต มาจาก ปสตฺถ (ประเสริฐ, ) + อิฏฺฐ ปัจจัย ในวิเสสตัทธิต,
(คุณศัพท์) เป็นศัพท์ตัทธิต มาจาก ปสตฺถ (ประเสริฐ, ) + อิฏฺฐ ปัจจัย ในวิเสสตัทธิต,
แปลง ปสตฺถ เป็น ส ด้วยสูตร - ปสตฺถสฺส โส จ. แปลว่า:ในเพราะ อิย, อิฏฺฐ ปัจจัย
ให้แปลง ปสตฺถ ทั้งตัวเป็น ส และ ช. (รู ๓๙๒) = ส+อิฏฺฐ (ช+อิย), และแปลง อิ เป็น เอ
ด้วยสูตร – กฺวจาสวณฺณํ ลุตฺเต. แปลว่า: เมื่อสระมีรูปไม่หน้าถูกลบแล้ว ให้เอาสระหลัง
เป็นอสวัณณะ. (รู ๑๖) = ส+เอฏฺฐ, รวมกันสำเร็จรูปเป็น เสฏฺฐ, ตั้งเป็นนาม นำไปแจก
วิภัตติทั้ง ๗ หมวดตามลำดับ .
ให้แปลง ปสตฺถ ทั้งตัวเป็น ส และ ช. (รู ๓๙๒) = ส+อิฏฺฐ (ช+อิย), และแปลง อิ เป็น เอ
ด้วยสูตร – กฺวจาสวณฺณํ ลุตฺเต. แปลว่า: เมื่อสระมีรูปไม่หน้าถูกลบแล้ว ให้เอาสระหลัง
เป็นอสวัณณะ. (รู ๑๖) = ส+เอฏฺฐ, รวมกันสำเร็จรูปเป็น เสฏฺฐ, ตั้งเป็นนาม นำไปแจก
วิภัตติทั้ง ๗ หมวดตามลำดับ .
#สุกิริยา (กิริยดี, -สุภาพ, -อ่อนโยน) สุ+กิริยา > สุกิริย+สิ
#อุโภ (ทั้งสอง) อุภ+โย อุภ ศัพท์เป็นสัพพนาม เป็นปริยาย (คำไวพจน์) ของ ทฺวิ ศัพท์ (สอง)
แจกปทมาลาเป็นพหูพจน์เท่านั้น วิธีทำตัว คือ ให้แปลง โย เป็น โอ ด้วย ตุ ศัพท์ ในสูตรว่า
ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐)
แจกปทมาลาเป็นพหูพจน์เท่านั้น วิธีทำตัว คือ ให้แปลง โย เป็น โอ ด้วย ตุ ศัพท์ ในสูตรว่า
ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐)
#มาตา (มารดา, แม่) มาตุ+สิ
ปิตา (บิดา, พ่อ) ปิตุ+สิ (หรือ มาตาปิตา อาจเป็นศัพท์สมาสก็ได้,
แต่ถ้าเป็นสมาสต้องเป็น มาตาปิตุ+โย สำเร็จเป็น มาตาปิตโร ถึงจะถูกต้อง)
แต่ถ้าเป็นสมาสต้องเป็น มาตาปิตุ+โย สำเร็จเป็น มาตาปิตโร ถึงจะถูกต้อง)
#สุภาสา (วาจาสุภาพดี, -สุภาพ, -อ่อนหวาน) สุภาสา+สิ
#จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
#สุกิริยา (ผู้มีกิริยาเรียบร้อย, -อ่อนโยน, -สุภาพ) สุกิริยา+สิ
ส่วนในกวิทัปปณนีติ คาถา ๑๘๗. ใช้ท่านศัพท์ค่อนข้างชัดเจน ดังนี้
มาตุเสฏฺโฐ สุภาโส หิ, ปิตุเสฏฺโฐ สุกิริโย;
อุโภ มาตุปิตุเสฎฺฐา, สุภาสา จ สุกิริยา ฯ
„ที่แท้ ลูกที่มีแม่ประเสริฐ เป็นคนพูดจาดี
ที่มีพ่อประเสริฐ เป็นคนมีกิริยางาม
หากแม่และพ่อเป็นคนประเสริฐทั้งสอง
บุตรก็ย่อมเป็นคนพูดจาดีและกิริยางดงาม“.
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen