#เต่าซ่อนอวัยวะ#
๗๖.
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ, ปรโทสญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่รับรู้โทษของตนในผู้อื่น
แต่กลับไปรับรู้โทษของผู้อื่น
และยังกำหนดโทษของผู้อื่นด้วย
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
(#โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๖, #ธัมมนีติ ๒๒๗, #กวิทัปปณนีติ ๒๑๖)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#นตฺตโทสํ ตัดบทเป็น น+อตฺตโทสํ, น (ไม่, หามิได้)+ อตฺตโทสํ (โทษของตน) อตฺต+โทส > อตฺตโทส+อํ
#ปเร: (ในผู้อื่น, อันอื่น, ต่าง, ภายนอก) ปร+สฺมึ
#ชญฺญา (พึงรู้, ควรรู้, ควรเห็น, ทราบ) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ., แปลง ญาธาตุ เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยาญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ปัจจัย ไดบ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ. (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลงนิคคหิตเป็นที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺคนฺตํ วา วคฺเค. (รู ๔๙) = ชญฺญา.
#โทสํ (โทษ, ความผิด) โทส+อํ
#ปรสฺส (ของคนอื่น) ปรสฺส (ของคนอื่น) ปร+ส สัพพนาม
ตุ (ส่วน, แต่) เป็นนิบาต
#คุยฺเห (ที่ปกปิด, ที่ซ่อนไว้) คุยฺห+สฺมึ
กุมฺโมว ตัดบทเป็น กุมฺโม+อิว (เหมือนเต่า) กุมฺม+สิ, ในอภิธาน-ฏีกา ท่านแสดงศัพท์ที่เป็นชื่อเต่าไว้ ๒ ศัพท์ คือ กจฺฉป (ผู้ดื่มด้วยจักเร้) และ กุมฺม (ผู้มีความช้า, ผู้ไปช้า). วิ. กุจฺฉิโต อูมิ เวโค อสฺส กุมฺโม. (สัตว์ที่มีความเร็วแย่ ชื่อว่า กุมฺม). ศัพท์นี้เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และอิตถีลิงค์.
องฺคานิ (องค์, อวัยวะ ท.) องฺค+โย, (หมายเหตุ: บาทคาถาที่ ๓ นี้ ในกวิทัปปณนีติ เป็น „คุยฺโห กุมฺมาว องฺคานิ“. ในธัมมนีติ เป็น กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ ส่วนในโลกนีตินี้ เดิมเป็น „คุยฺเห กุมฺโม องฺคานิ“ ได้แก้เป็น คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ เพื่อความเหมาะสม แม้ในโลกนีติไตรพากย์ ก็เป็น „ คุยฺเห กุมฺมาว องฺคานิ“. )
#ปรโทสญฺจ ตัดบทเป็น ปรโทสํ+จ (โทษของผู้อื่น+ด้วย) ส่วนในธัมมนีติ เป็น ปรภาวญฺจ (และภาวะของผู้อื่น)
#ลกฺขเย: (กำหนด, สังเกต, หมายรู้) √ลกฺข+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
......ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๒๗ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ, ปรภาวญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่ทราบโทษของตนในผู้อื่น
แต่กลับไปทราบโทษของผู้อื่น
และคอยกำหนดภาวะของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
หากไม่คำนึงถึงคนพาล อาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้อีกว่า ว่า
„คนฉลาด ไม่พึงให้คนอื่นรู้โทษของตน
แต่ควรศึกษาโทษของผู้อื่น
และพึงสังเกตโทษของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนหัวในกระดอง ฉะนั้น.“
(คาถาแปลค่อนข้างหน่อย ความหมายอาจผิดจากความเป็นจริงก็ได้ ขออภัยล่วงหน้า.)
……………….
๗๖.
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ, ปรโทสญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่รับรู้โทษของตนในผู้อื่น
แต่กลับไปรับรู้โทษของผู้อื่น
และยังกำหนดโทษของผู้อื่นด้วย
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
(#โลกนีติ หมวดคนพาล คาถาที่ ๗๖, #ธัมมนีติ ๒๒๗, #กวิทัปปณนีติ ๒๑๖)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#นตฺตโทสํ ตัดบทเป็น น+อตฺตโทสํ, น (ไม่, หามิได้)+ อตฺตโทสํ (โทษของตน) อตฺต+โทส > อตฺตโทส+อํ
#ปเร: (ในผู้อื่น, อันอื่น, ต่าง, ภายนอก) ปร+สฺมึ
#ชญฺญา (พึงรู้, ควรรู้, ควรเห็น, ทราบ) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ., แปลง ญาธาตุ เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยาญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ปัจจัย ไดบ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ. (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลงนิคคหิตเป็นที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺคนฺตํ วา วคฺเค. (รู ๔๙) = ชญฺญา.
#โทสํ (โทษ, ความผิด) โทส+อํ
#ปรสฺส (ของคนอื่น) ปรสฺส (ของคนอื่น) ปร+ส สัพพนาม
ตุ (ส่วน, แต่) เป็นนิบาต
#คุยฺเห (ที่ปกปิด, ที่ซ่อนไว้) คุยฺห+สฺมึ
กุมฺโมว ตัดบทเป็น กุมฺโม+อิว (เหมือนเต่า) กุมฺม+สิ, ในอภิธาน-ฏีกา ท่านแสดงศัพท์ที่เป็นชื่อเต่าไว้ ๒ ศัพท์ คือ กจฺฉป (ผู้ดื่มด้วยจักเร้) และ กุมฺม (ผู้มีความช้า, ผู้ไปช้า). วิ. กุจฺฉิโต อูมิ เวโค อสฺส กุมฺโม. (สัตว์ที่มีความเร็วแย่ ชื่อว่า กุมฺม). ศัพท์นี้เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และอิตถีลิงค์.
องฺคานิ (องค์, อวัยวะ ท.) องฺค+โย, (หมายเหตุ: บาทคาถาที่ ๓ นี้ ในกวิทัปปณนีติ เป็น „คุยฺโห กุมฺมาว องฺคานิ“. ในธัมมนีติ เป็น กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ ส่วนในโลกนีตินี้ เดิมเป็น „คุยฺเห กุมฺโม องฺคานิ“ ได้แก้เป็น คุยฺเห กุมฺโมว องฺคานิ เพื่อความเหมาะสม แม้ในโลกนีติไตรพากย์ ก็เป็น „ คุยฺเห กุมฺมาว องฺคานิ“. )
#ปรโทสญฺจ ตัดบทเป็น ปรโทสํ+จ (โทษของผู้อื่น+ด้วย) ส่วนในธัมมนีติ เป็น ปรภาวญฺจ (และภาวะของผู้อื่น)
#ลกฺขเย: (กำหนด, สังเกต, หมายรู้) √ลกฺข+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
......ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๒๗ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺญา, ชญฺญา โทสํ ปรสฺส ตุ;
กุมฺโม คุยฺหา อิวงฺคานิ, ปรภาวญฺจ ลกฺขเยฯ
„คนพาลไม่ทราบโทษของตนในผู้อื่น
แต่กลับไปทราบโทษของผู้อื่น
และคอยกำหนดภาวะของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนอวัยวะทั้งหลายไว้ ฉะนั้น.“
หากไม่คำนึงถึงคนพาล อาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้อีกว่า ว่า
„คนฉลาด ไม่พึงให้คนอื่นรู้โทษของตน
แต่ควรศึกษาโทษของผู้อื่น
และพึงสังเกตโทษของผู้อื่น
เหมือนเต่าซ่อนหัวในกระดอง ฉะนั้น.“
(คาถาแปลค่อนข้างหน่อย ความหมายอาจผิดจากความเป็นจริงก็ได้ ขออภัยล่วงหน้า.)
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen