#ผู้ตราบาป#
๑๒๘.
มาตา ปุตฺตกรํ ปาปํ, สิสฺสปาปํ คุรุ ตถา;
ราชา รฎฺฐกรํ ปาปํ, ราชปาปํ ปุโรหิโตฯ
„บาปที่ลูกทำ เป็นกรรมของพ่อแม่
บาปลูกศิษย์ทำ เป็นกรรมของครูอาจารย์
บาปที่พสกนิกรทำ เป็นกรรมของพระราชา
บาปที่พระราชาทำ เป็นกรรมของปุโรหิต.“
(#โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๘, #ธัมมนีติ ๒๘๓, #กวิทัปปณนีติ ๒๖๒)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#มาตา (มารดา, แม่) มาตุ+สิ, มาจาก มาน-ปูชายํ+ราตุ ปัจจัย,
วิ. ธมฺเมน ปุตฺตํ มาเนตีติ มาตา. (หญิงผู้บูชาบุตรโดยธรรม ชื่อว่า มารดา).
#ปุตฺตกรํ (ที่บุตรกระทำ) ปุตฺต+กร > ปุตฺตกร+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น ปุตฺตกตํ (อันบุตรกระทำแล้ว)
#ปาปํ (บาป, กรรมชั่ว, ความเลวทราม) ปาป+สิ
#สิสฺสปาปํ (บาปของลูกศิษย์, ที่ศิษย์กระทำแล้ว) สิสฺส+ปาป > สิสฺสปาป+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น สิสฺสกตํ (อันศิษย์กระทำแล้ว)
#คุรุ (ครู, อาจารย์) คุรุ+สิ หมายเหตุ: เดิมเป็น คุรุกตา ได้แก้เป็น คุรุ ตถา เหมือนในกวิทัปปณนีติ คิดว่าเหมาะสมกว่า.
#ตถา (เหมือนกัน, เช่นกัน, เหมือนอย่างนั้น) นิบาตบอกความเปรียบเทียบ.
#ราชา: (พระราชา) ราช+สิ
#รฎฺฐปาปํ (บาปของชาวแว่นแคว้นกระทำแล้ว, บาปที่พลเมืองกระทำ) รฏฺฐ+ปาป > รฏฺฐปาป+สิ ในกวิทัปปณีติ เป็น รฏฺฐกตํ (ที่แว่นแคว้นกระทำแล้ว).
#ราชปาปํ (บาปของพระราชา, บาปที่พระราชาทรงทำแล้ว) ราชกต+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น „ราชากตํ“
#ปุโรหิโต (ปุโรหิต, ที่ปรึกษาของพระราชา, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) ปุโรหิต+สิ
หมายเหตุ. คาถานี้เข้าใจยากครับ อาจมีความหมายเป็อย่างอื่นก็ได้ ขอแปลตามนี้ไปก่อน.
……………….
๑๒๘.
มาตา ปุตฺตกรํ ปาปํ, สิสฺสปาปํ คุรุ ตถา;
ราชา รฎฺฐกรํ ปาปํ, ราชปาปํ ปุโรหิโตฯ
„บาปที่ลูกทำ เป็นกรรมของพ่อแม่
บาปลูกศิษย์ทำ เป็นกรรมของครูอาจารย์
บาปที่พสกนิกรทำ เป็นกรรมของพระราชา
บาปที่พระราชาทำ เป็นกรรมของปุโรหิต.“
(#โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๘, #ธัมมนีติ ๒๘๓, #กวิทัปปณนีติ ๒๖๒)
……………….
ศัพท์น่ารู้ :
#มาตา (มารดา, แม่) มาตุ+สิ, มาจาก มาน-ปูชายํ+ราตุ ปัจจัย,
วิ. ธมฺเมน ปุตฺตํ มาเนตีติ มาตา. (หญิงผู้บูชาบุตรโดยธรรม ชื่อว่า มารดา).
#ปุตฺตกรํ (ที่บุตรกระทำ) ปุตฺต+กร > ปุตฺตกร+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น ปุตฺตกตํ (อันบุตรกระทำแล้ว)
#ปาปํ (บาป, กรรมชั่ว, ความเลวทราม) ปาป+สิ
#สิสฺสปาปํ (บาปของลูกศิษย์, ที่ศิษย์กระทำแล้ว) สิสฺส+ปาป > สิสฺสปาป+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น สิสฺสกตํ (อันศิษย์กระทำแล้ว)
#คุรุ (ครู, อาจารย์) คุรุ+สิ หมายเหตุ: เดิมเป็น คุรุกตา ได้แก้เป็น คุรุ ตถา เหมือนในกวิทัปปณนีติ คิดว่าเหมาะสมกว่า.
#ตถา (เหมือนกัน, เช่นกัน, เหมือนอย่างนั้น) นิบาตบอกความเปรียบเทียบ.
#ราชา: (พระราชา) ราช+สิ
#รฎฺฐปาปํ (บาปของชาวแว่นแคว้นกระทำแล้ว, บาปที่พลเมืองกระทำ) รฏฺฐ+ปาป > รฏฺฐปาป+สิ ในกวิทัปปณีติ เป็น รฏฺฐกตํ (ที่แว่นแคว้นกระทำแล้ว).
#ราชปาปํ (บาปของพระราชา, บาปที่พระราชาทรงทำแล้ว) ราชกต+สิ ในกวิทัปปณนีติ เป็น „ราชากตํ“
#ปุโรหิโต (ปุโรหิต, ที่ปรึกษาของพระราชา, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) ปุโรหิต+สิ
หมายเหตุ. คาถานี้เข้าใจยากครับ อาจมีความหมายเป็อย่างอื่นก็ได้ ขอแปลตามนี้ไปก่อน.
……………….
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen