03.06.2018

โลกนีติปาฬิแปล_๖.๑๒๙ หมวดราชา / มนต์มัดใจ

#มนต์มัดใจ#
๑๒๙.
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;
ชิเน มจฺฉรึ ทาเนน, สจฺเจนาลีกวาทินํฯ


“พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ,
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี,
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้,
พึงชนะคนพูดเหลวไหลด้วยคำสัตย์.“

(#โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๙, #กวิทัปปณนีติ ๒๖๓, #จตุรารักขทีปนี ๑๐ เมตตาภาวนา #ขุ. ธ. ๒๕/๒๗ โกธวรรค, ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๒ ราโชวาทชาดก)


……………….

ศัพท์น่ารู้ :

#อกฺโกเธน (ด้วยความไม่โกรธ) น+โกธ > อกฺโกธ+นา, (เดิมเป็น อโกเธน ได้แก้เป็น อกฺโกเธน ตามพระบาฬี.)
#ชิเน (พึงชนะ) √ชิ+นา+เอยฺย, กิยาทิ. กัตตุ.
#โกธํ (ซึ่งคนโกรธ) โธน+อํ
#อสาธุํ (คนไม่ดี) น+สาธุ > อสาธุ+อํ
#สาธุนา (ด้วยความดี) สาธุ+นา
#มจฺฉรี (คนตระหนึ่, คนขี้เหนียว) มจฺฉรี+อํ ในพระบาฬี เป็น กทริยํ.
#ทาเนน (ด้วยทาน, การให้) ทาน+นา
#สจฺเจนาลิกวาทินํ ตัดบทเป็น สจฺเจน (ด้วยสัจจะ, ความจิรง: สจฺจ+นา) + อลิกวาทินํ (คนมักพูดเหลาะแหละ, คนชอบพูดเหลวไหล: อลิก+วาที > อลิกวาที+อํ)


หลักการทำเทฺวภาวะ (การซ้อนอักษร)

หากมีคำถามว่า อกฺโกเธน หรือ อโกเธน อย่างไหนถูกต้อง?

ตอบว่า.
ตามหลักแล้วควรซ้อน เพราะเป็นเทฺวภาวฐานะ (ฐานที่ทำการซ้อนได้) กล่าวคือ เพราะมี กมุ ธาตุ อยู่หลัง, หลังจากแปลง น เป็น อ แล้วให้ทำการซ้อนได้. สมตามที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๔๐ กล่าวไว้ว่า
„เอตฺถ จ ฐานํ นาม รสฺสาการโต ปรํ ป-ปติ-ปฏิ-กมุ-กุส-กุธ-กี-คห-ชุต-ญา-สิ-สุ-สุมฺภ-สร-สสาทีนมาทิพฺยญฺชนํ เทฺวภาวํ,....
(แปลว่า)
จ สำหรับ เอตฺถ (สุตฺเต) ในสูตรนี้ อิติ เอวํ อาทิ (ฐานํ) ฐานะเป็นต้นอย่างนี้ว่า อาทิพฺยญฺชนํ พยัญชนะตัวต้น ปปติปฏิกมุกุสกุธกีคหชุตญาสิสุสมฺภุสรสสาทีนํ (อุปสคฺค-ธาตูนํ) แห่งอุปสัคและธาตุทั้งหลายมี ป ปติ ปฏิ อุปสัค และ กมุ กุส กุธ กี คห ชุต ญา สิ สุ สมฺภุ สร สส ธาตุเป็นต้น ปรํ อันอยู่ข้างหลัง รสฺสาการโต จากรัสสสระและอาอักษรทั้งหลาย (ปปฺโปติ ย่อมถึง) เทฺวภาวํ ซึ่งความเป็นเทฺวภาวะ จ ด้วย.
ฉะนั้น คำว่า อกฺโกเธน ตามพระบาลีถือว่าถูกต้องแล้ว

มจฺฉริ (มจฺฉรี) กับ กทริย แปลว่า ตะหนี่ เหมือนกัน แต่ตระหนึ่ไม่เหมือนกัน.
ความต่างของ มจฺฉริ และ กทริย ปรากฏในอรรถกถาสังยุตตนิกาย เทวตาสังยุต สูตรที่ ๙ (มัจฉริยสูตร) ว่า...

กทริยาติ อิทํ มจฺฉริโนติ ปทสฺเสว เววจนํ ฯ มุทุกํปิ หิ มจฺฉริยํ มจฺฉริยนฺ ตฺเวว วุจฺจติ ถทฺธํ ปน กทริยํ นาม ฯ
(แปลว่า)
บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่ นั่นแหละ, เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่า มัจฉริยะ ส่วนความ ตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ.

……………….

Keine Kommentare:

Kommentar veröffentlichen

กวิทัปปณนีติแปล_๓๕. ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด

#ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด# ๓๕. สชาโต เยน ชาเตน, ยาติ วํโส สมุนฺนตึ; ปริวตฺตินิสํสาเร, มโต โก วา น ชายเตฯ „ ความเป็นญาติกันด้วยการเกิดอันใด...