25.07.2018

กวิทัปปณนีติแปล_๑๑. คำติที่ดีกว่าคาชม

#คำติที่ดีกว่าคำชม#
๑๑.
ทุมฺเมเธหิ ปสํสา จ, วิญฺญูหิ ครหา จ ยา;
ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ, ยญฺเจ พาลปฺปสํสนาฯ


„การสรรเสริฐจากคนพาลกับ
การติเตียนจากนักปราชญ์
การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า
การสรรเสริญจากคนพาลระประเสริฐอะไร.“

(#กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, คาถาที่ ๑๑, ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๒)


……………….

ศัพท์น่ารู้ :

#ทุมฺเมเธหิ (จากคนไม่มีปัญญา, จากคนพาล ท.) ทุมฺเมธ+หิ
#ปสํสา จ, (การสรรเสริญ ด้วย) ปสํสา+สิ
#วิญฺญูหิ  (จากวิญญูชน, จากนักปราชญ์ ท.)
#ครหา จ ยา; (การครหา,​ การติเตียน อันใด ด้วย) ครหา+สิ
#ครหาว ตัดบทเป็น ครหา+เอว (การติเตียน+นั้นเทียว)
#เสยฺโย (ประเสริฐกว่า) มาจาก ปสตฺถ+อิย ปัจจัยในวิเสสตัทธิต แปลง ปสตฺถ เป็น ส ด้วยสูตรว่า ปสตฺถสฺส โส จ. (รู ๓๙๒) = ส+อิย, ลบสระหน้าปกติสระหลัง, พฤทธิ์ อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ.
#วิญฺญูหิ (จากวิญญูชน ท.) วิญฺญู+หิ
#ยญฺเจ ตัดบทเป็น ยํ+เจ, ในพระบาฬีฉัฏฐสังคายนานิยมเขียนกัน เป็น ยํ เจ, แต่ในอรรถกถานิยมเขียนเป็น ยญฺเจ.  คำว่า ยญฺเจ ในอรรถกถาให้ความหมายเท่ากับ น เสยฺโย แปลว่า ไม่ประเสริฐ. สำนวนไทยนิยมแปลว่า จะประเสริฐอะไร, มันจะดีที่ตรงไหน เป็นต้น.
#พาลปฺปสํสนา (การสรรเสริญของคนพาล) พาล+ปสํสนา > พาลปฺปสํสนา+สิ, หรืออาจเป็น พาลปฺปสํสน+สฺมา (กว่าการสรรเสริญของคนพาล).

……………….

ลำดับนี้ จะได้นำพระบาฬีเถรคาถา นิบาตที่ ๑๔ อันเป็นคำกล่าวของพระโคทัตตเถระ พร้อมคำแปลที่ไพเราะลึกซึ้งมาเสนอไว้ เพื่อความเจริญแห่งศรัทธาและปัญญาของท่านสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้.


ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโญ   ธุเร ยุตฺโต ธุรสฺสโห
          มถิโต อติภาเรน          สํยุตฺตํ ๑- นาติวตฺตติ
           เอวํ ปญฺญาย เย ติตฺตา     สมุทฺโท วารินา ยถา
           น ปเร อติมญฺญนฺติ         อริยธมฺโมว ปาณินํ ฯ
           กาเล กาลวสมฺปตฺตา       ภวาภววสํ คตา
           นรา ทุกฺขํ นิคจฺฉนฺติ        เต จ ๒- โสจนฺติ มาณวา ฯ
           อุนฺนตา สุขธมฺเมน         ทุกฺขธมฺเมน โวนตา
           ทฺวเยน พาลา หญฺญนฺติ      ยถาภูตํ อทสฺสิโน ฯ
           เย จ ทุกฺเข สุขมฺหิ จ      มชฺเฌ สิพฺพนิมจฺจคู ๓-
           ฐิตา เต อินฺทขีโลว        น เต อุนฺนตโอนตา ฯ
           น เหว ลาเภ นาลาเภ     น ยเส น จ กิตฺติยา
           น นินฺทาย ปสํสาย         น เต ทุกฺเข สุขมฺหิ จ
           สพฺพตฺถ เต น ลิปฺปนฺติ      อุทพินฺทุว โปกฺขเร
           สพฺพตฺถ สุขิตา ธีรา ๔-     สพฺพตฺถ อปราชิตา ฯ
         
 ธมฺเมน จ อลาโภ โย      โย จ ลาโภ อธมฺมิโก
           อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย     ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก ฯ
           ยโส จ อปฺปพุทฺธีนํ         วิญฺญูนํ อยโส จ โย
           อยโส จ ๕- เสยฺโย วิญฺญูนํ  น ยโส อปฺปพุทฺธินํ ฯ
           ทุมฺเมเธหิ ปสํสา จ        วิญฺญูหิ ครหา จ ยา
           ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ      ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา ฯ
           สุขญฺจ กามมยิกํ           ทุกฺขญฺจ ปวิเวกิยํ
           ปวิเวกิยํ ทุกฺขํ เสยฺโย      ยญฺเจ กามมยํ สุขํ ฯ
           ชีวิตญฺจ อธมฺเมน          ธมฺเมน มรณญฺจ ยํ
           มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย        ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ ฯ
           กามโกธปฺปหีนา ๑- เย     สนฺตจิตฺตา ภวาภเว
           จรนฺติ โลเก อสิตา        นตฺถิ เตสํ ปิยาปิยํ ฯ
           ภาวยิตฺวาน โพชฺฌงฺเค      อินฺทฺริยานิ พลานิ จ
           ปปฺปุยฺย ๒- ปรมํ สนฺตึ      ปรินิพฺพนฺติ อนาสวาติ ฯ
                      โคทตฺโต เถโร ฯ
@๑ ยุ. สํยุคํ ฯ  ๒ ยุ. เตธ ฯ  ๓ ยุ. สิพฺพนิมชฺฌคู ฯ  ๔ ยุ. วีรา ฯ  ๕ ม. ว ฯ

(๑)
โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน
ย่อมอาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก
ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้วแม้ฉันใด
บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา
เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ
บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น
ย่อมเป็นดังอริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย.

(๒)
นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของ
ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก.

(๓) คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง
ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑
มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑.

(๔)
ชนเหล่าใดก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา
ในสุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน
เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ในลาภ
ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ
ทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายมีความสุขและได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป.

(๕)
การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรมกับการได้ลาภ
โดยไม่ชอบธรรมทั้งสองอย่างนี้
การไม่ได้ลาภอันชอบธรรมประเสริฐกว่า
การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร

(๖)
คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ
คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า
คนไม่มีความรู้มียศจะประเสริฐอะไร

(๗)
การสรรเสริฐจากคนพาลกับการติเตียนจากนักปราชญ์
การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า
การสรรเสริญจากคนพาลระประเสริฐอะไร

(๘)
ความสุขอันเกิดจากกามคุณกับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก
ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า
ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร

(๙)
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมกับความตายโดยธรรม
ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร

(๑๐)
ชนเหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว
มีจิตสงบระงับเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก
ชนเหล่านั้นไม่มีความรักความชัง,
บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕
และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม
หาอาสวะมิได้ ย่อมปรินิพพาน.

……………….

Keine Kommentare:

Kommentar veröffentlichen

กวิทัปปณนีติแปล_๓๕. ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด

#ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด# ๓๕. สชาโต เยน ชาเตน, ยาติ วํโส สมุนฺนตึ; ปริวตฺตินิสํสาเร, มโต โก วา น ชายเตฯ „ ความเป็นญาติกันด้วยการเกิดอันใด...