04.08.2018

กวิทัปปณนีติแปล_๒๑. ควรเคารพคนผู้เจริญ

#ควรเคารพคนผู้เจริญ#
๒๑.
เย วุฑฺฒมปจายนฺติ, นรา ธมฺมสฺส โกวิทา;
ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปาสํสา, สมฺปราเย จ สุคฺคตีติฯ


“นรเหล่าชนใด ฉลาดในธรรม ย่อมนอบน้อมคนผู้เจริญ
นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญในปัจจุบันนี้,
และมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.“

(#กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, คาถาที่ ๒๑, #นรทักขทีปนี ๑๓๙, #ขุ. ชา. ๒๗/๓๗ ติตติรชาดก)


……………….

ศัพท์น่ารู้ :

เย (ใด, ชนเหล่าใด) ย+โย, หลังสัพพนามให้แปลง โย เป็น เอ ด้วยสูตรว่า สพฺพนามการเต ปฐโม. (รู ๒๐๐)
#วุฑฺฒมปจายนฺติ ตัดบทเป็น วุฑฺฒํ+อปจายนฺติ (ย่อมนอบน้อมซึ่งผู้เจริญ), วุฑฺฒ+อํ = วุฑฺฒํ (ผู้เจริญ, ผู้สูงอายุกว่า), อป+√จาย+อ+อนฺติ = อปจายนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. (หมายเหตุ :  เดิมเป็น วุฑฺฒมปจยนฺติ ได้แก้เป็น วุฑฺฒมปจายนฺติ ตามพระบาฬี)
#นรา (ชน, นรชน) นร+โย, หลังอการันต์ให้แปลง โย ปฐมาวิภัตติ เป็น อา, โย ทุติยาวิภัตติ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
#ธมฺมสฺส โกวิทา แปลว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรม (ให้แปลฉัฏฐีเป็นสัตตมีในที่ประกอบด้วยศัพท์ว่า กุสล เป็นต้น สำนวนบาลีเรียกว่า “สตฺตมิยตฺเถ กุสลาทิโยเค” (ดูรู ๓๑๗), ธมฺม+ส = ธมฺมสฺส (แห่งธรรม), โกวิท+โย = โกวิทา (ผู้ฉลาด)
#ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปาสํสา (ผู้ควรได้รับการยกย่องในปัจจุบันนั่นเทียว), ทิฏฺเฐว ธมฺเม (ในธรรมอันตนเห็นแล้วนั่นเทียว หมายถึงในปัจจุบัน, ในโลกนี้),  ปาสํส+โย = ปาสํสา (ผู้ควรได้รับการยกย่อง, ความสรรเสริญ)
#สมฺปราเย จ (และเป็นที่ไปในเบื้องหน้า, ในสัมปรายภพ) สมฺปราย+สฺมึ
สุคฺคตีติ ตัทบทเป็น สุคฺคติ+อิติ, (อ. สุคติ แล)  ศัพท์เดิมเป็น สุคติ (การไปดี, สุคติ) ซ้อน คฺ เป็น สุคฺคติ เพื้อรักษาฉันท์. (หมายเหตุ : ในกวิทัปปณนีติ เดิมเป็น สุคตึ ได้แก้เป็น สุคตีติ เพื่อให้ตรงตามพระบาฬี)

……………….

Keine Kommentare:

Kommentar veröffentlichen

กวิทัปปณนีติแปล_๓๕. ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด

#ใครเล่าตายแล้วจะไม่เกิด# ๓๕. สชาโต เยน ชาเตน, ยาติ วํโส สมุนฺนตึ; ปริวตฺตินิสํสาเร, มโต โก วา น ชายเตฯ „ ความเป็นญาติกันด้วยการเกิดอันใด...